วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บร๊อกโคลี กับ โรคมะเร็ง


บร๊อกโคลี เป็นผักที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่ามีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมากเป็นอันดับต้นๆ
ถึงแม้จะมีราคาแพงและหารับประทานได้ค่อนข้างยาก แต่เมื่อเทียบกับคุณค่าของมันแล้ว ก็นับว่าคุ้มค่า คุ้มราคา และ เป็นผักที่คนรักสุขภาพควรต้องมีไว้ประจำครัวกันทีเดียว

บร๊อกโคลี อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินซี ใยอาการและสารอาหารอื่น อีกมากมายกว่า 10 ชนิด ทั้งยังป้องกันโรค ได้มากมาย อาทิ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคที่เกี่ยวกับสายตาต่างๆ โรคความผิดปกติของเด็กแรกเกิด เป็นต้น

บร๊อกโคลี กับ โรคมะเร็ง

คุณสมบัติในการต้าน มะเร็ง ของ บร๊อกโคลี มีดังนี้


มะเร็งเต้านม Breast Cancer. บร๊อกโคลี มีสารอาหารเข้มข้นอย่าง ซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) ที่สามารถป้องกัน อนุมูลอิสระ ที่เข้าไปทำลายเซลล์ และ ทำลาย DNA ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิด มะเร็ง ได้ ทั้งยังช่วยกระตุ้นเซลล์ในร่างกายของมนุษย์ หรือ สัตว์ ให้สร้างเอนไซม์ต่อต้าน มะเร็ง ลดระดับการเผาผลาญฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นตัวผลักดันให้เนื้องอกที่เต้านมเจริญเติบโตขึ้น ทั้งยังพบว่าความเสี่ยงในการพัฒนาเชื่้อ มะเร็งเต้านม ในหนูทดลอง ลดลงถึง 60% เป็นเพียงการทดลองในห้องปฏิบัติการ ยังไม่ได้มีการทดลองในคนไข้ โรคมะเร็ง โดยตรง

มะเร็งลำไส้  Colon Cancer. ใน บร๊อกโคลี มีสารเคมีประเภท Organosulfur ชื่อ Lsothiocyanate ซึ่งสารนี้มีฤทธิ์ยับยั้งการแพร่ของ มะเร็งลำไส้ ใหญ่ ในหนูได้ และสามารถขับสารพิษจากเอนไซม์ ซึ่งป้องกันการเกิดของเซลล์ มะเร็งลำไส้ ได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากยังไม่ได้ทำการทดลองในคนโดยตรง จึงอาจสรุปได้เพียงว่า บร๊อกโคลี มีสารเคมีบางอย่างที่สามารถต่อสู้ มะเร็ง ในหนูทดลองได้

มะเร็งต่อมลูกหมาก Prostate Cancer. สารอาหาร คือ Diindolylmethane หรือ DNA ใน บร๊อกโคลี มีฤทธิ์ช่วยต้านฮอร์โมนแอนโดรเจน ให้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ มะเร็งต่อมลูกหมาก ฮอร์โมนแอนโดรเจนในเพศชาย เป็นฮอร์โมนซึ่งคล้ายกับเทศโทสเตอโรน ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเซลล์ มะเร็งต่อมลูกหมาก ในระยะแรกเริ่ม ดังนั้น การรับประทาน บร๊อกโคลี จึงสามารถยับยั้งการเกิด มะเร็งต่อมลูกหมาก ได้

มะเร็งกระเพาะอาหาร Gastric Cancer. สาร Sulforaphane ใน บร๊อกโคลี สามารถป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่ชื่อ Helicobacteri Pylori เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารจนอาจนำไปสู่การเป็น มะเร็งกระเพาะอาหาร ได้ ดังนั้น การที่ บร๊อกโคลี ช่วยป้องกันการติดเชื้อชนิดนี้ได้ จึงเท่ากับช่วยป้องกันการเกิด มะเร็งกระเพาะอาหาร ได้ทางอ้อม


มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ Bladder Cancer. นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันรอสเวลพาร์คแคนเซอร์ สหรัฐอเมริกา แนะนำว่า การรับประทาน บร๊อกโคลี หรือ กระหล่ำปลี สด อย่างน้อยเดือนละ 3 ครั้ง จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็น มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ลงได้ 40% 


มะเร็งผิวหนัง Skin Cancer. มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอบกินส์ ได้ทำการทดลองโดยให้สัตว์ทดลองได้รับแสง UV จากการอาบแดดเป็นเวลา 20 สัปดาห์ติดต่อกัน และหลังจากนั้นก็รักษาด้วยการทาสารสกัดจาก บร๊อกโคลี  ที่ผิวหนังเป็นเวลา 11 สัปดาห์ พบว่า บร๊อกโคลี สกัดทำให้เซลล์ผิวหนังที่กำลังจะตอบสนองต่อการเกิด มะเร็ง มีปริมาณลดลง จึงสรุปว่า สาร Sulforaphane มี ฤทธิ์ช่วยขับสารพิษของเซลล์ มะเร็งผิวหนัง ได้

คำแนะนำและข้อควรระวังในการรับประทาน บร๊อกโคลี
บร๊อกโคลี รวมทั้งกะหล่ำปลี ที่ผ่านความร้อน จะทำให้สารไอโซธิโอไซยาเนตส์ ลดจำนวนลงถึง 60-90% เลยทีเดียว จึงทำให้การลดความเสี่ยงในการเป็น มะเร็งกระเพาะอาหาร ไม่ได้ผลดีเท่ากับรับประทานสดๆ แต่การรับประทานแบบสดๆ จะต้องมั่นใจว่า บร๊อกโคลี ที่ซื้อมานั้นปลอดจากสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกายด้วย

หากหาบร๊อกโคลีมาปรุงอาหารไม่ได้ สามารถใช้ผักในตระกูลเดียวกันมาประกอบอาหารรับประทานทดแทนกันได้ แต่คุณประโยชน์ที่ได้รับก็ย่อมมากน้อยแตกต่างกันไปตามชนิดของผักเช่นกัน โดยผักใน ตระกูลกะหล่ำ ที่เรารู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เช่น กระหล่ำปลี รวมถึงกะหล่ำปลีแดง กะหล่ำดาว Brussel Sprout ผักกาดขาว คะน้า ผักกาดเขียว กวางตุ้ง หัวไช้เท้า กะหล่ำดอก ผักกาดเขียวปลี เป็นต้น